วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ว่านหางจระเข้ (พืชสมุนไพร)

e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b8a7e0b988e0b8b2e0b899e0b8abe0b8b2e0b887e0b888e0b8a3e0b8b0e0b980e0b882e0b989

ชื่ออื่นใช้เรียก : ว่านไฟไหม้ , ว่านตะเข้

ลักษณะ : ว่านหางจระเข้ เป็นพืชล้มลุก พื้นเมืองของทวีปอัฟริกา ลำต้นสั้น มีเนื้ออวบอิ่ม ใบหนารูปยาวปลายแหลม ริบใบหยัก และมีหนาม ผิวใบสีเขียวใส และมีรอยกระสีขาว ภายในมีวุ้นและเมือกมาก ออกดอกช่วงฤดูหนาว จากกลางลำต้นเป็นช่อสีแดงกลีบดอก 6 กลีบ ยาว 2-5 เซนติเมตร กลีบดอก 3 กลีบ สีส้ม-แดง กลีบใน 3 กลีบ สีเหลือง

สรรพคุณ : รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลไหม้จากแสงแดด หรือแผลเรื้อรัง ต่างๆ และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

สรรพคุณทางยา : ตำรายาไทยใช้น้ำยางสีเหลืองจากใบเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่ายาดำใช้เป็นยาระบาย วุ้นสดจากใบใช้รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้แผลจากความเย็น (Frost bite) และแผลที่ถูกแมลงกัดต่อย และจากไฟไหม้ที่เนื้อเยื่อผิวหนังถูกทำลายไป เมื่อใช้ว่านหางจระเข้ปิดตรงบริเวณแผลจะช่วยให้รู้สึกเย็น และช่วยกระตุ้นการเกิดใหม่บริเวณแผล ป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน และยังป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นอีกด้วย ว่านหางจระเข้ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและไวรัส มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค และทำลายพิษที่เชื้อโรคขับออกมาได้ด้วย วุ้นจากว่านหางจระเข้ใช้รับประทานเพื่อช่วยรักษา และสมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้น นอกจากนี้ยังใช้วุ้นของว่านหางจระเข้ เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง อาทิเช่น แชมพู เพราะช่วยบำรุงเส้นผม หรือผสมในครีมกันแดด และครีมบำรุงผิวได้ด้วย
ควรเลือกใบต่ำสุดจากต้นว่านหางจระเข้ นำมาล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก โดยผ่านตามยาว นำเมือกวุ้นได้ที่ได้มาล้างน้ำจนหมดยางสีเหลือง ฝานวุ้นเป็นแผ่นบางๆ ใช้ปิดแผล พันทับด้วยผ้าพันแผลสะอาด เปลี่ยนวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น จนกว่าแผลจะหาย
การรับประทานเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารมี 2 วิธี
-รับประทานวุ้นสด ในผู้ใหญ่ 15 กรัม/วัน เด็กลดลงตามส่วนประมาณ 1/3 ของผู้ใหญ่
-รับประทานน้ำวุ้นหางจระเข้ ในผู้ใหญ่ 2 ช้อนโต๊ะเช้าเย็น เด็กรับประทาน 1/2 ของผู้ใหญ่

ข้อควรระวัง :
1. เมื่อใช้เป็นยาทา ให้ระวังยางของว่านหางจระเข้ เพราะมีฤทธิ์ระคายเคือง บางคนอาจแพ้จะรู้สึกคันมาก ดังนั้นต้องล้างให้หมดยาง ทดสอบได้ด้วยการชิม วุ้นดู ถ้ามีรสขมแสดงว่ายังมียางอยู่ ควรล้างให้หมดรสขม
2. เมื่อใช้เป็นยากิน ต้องระวังยางเช่นกัน เพราะอาจทำให้ท้องเสียและปวดท้องได้
3. กรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน การดื่มน้ำว่านหางจระเข้จะทำให้ตับอ่อนสร้างอินซูลินมากขึ้น ดังนั้นต้องระวังในผู้ที่ใช้อินซูลินรักษาเบาหวานอยู่ อาจมีอันตรายทำให้หมดสติได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น