วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ว่านหางจระเข้ (พืชสมุนไพร)

e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b8a7e0b988e0b8b2e0b899e0b8abe0b8b2e0b887e0b888e0b8a3e0b8b0e0b980e0b882e0b989

ชื่ออื่นใช้เรียก : ว่านไฟไหม้ , ว่านตะเข้

ลักษณะ : ว่านหางจระเข้ เป็นพืชล้มลุก พื้นเมืองของทวีปอัฟริกา ลำต้นสั้น มีเนื้ออวบอิ่ม ใบหนารูปยาวปลายแหลม ริบใบหยัก และมีหนาม ผิวใบสีเขียวใส และมีรอยกระสีขาว ภายในมีวุ้นและเมือกมาก ออกดอกช่วงฤดูหนาว จากกลางลำต้นเป็นช่อสีแดงกลีบดอก 6 กลีบ ยาว 2-5 เซนติเมตร กลีบดอก 3 กลีบ สีส้ม-แดง กลีบใน 3 กลีบ สีเหลือง

สรรพคุณ : รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลไหม้จากแสงแดด หรือแผลเรื้อรัง ต่างๆ และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

สรรพคุณทางยา : ตำรายาไทยใช้น้ำยางสีเหลืองจากใบเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่ายาดำใช้เป็นยาระบาย วุ้นสดจากใบใช้รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้แผลจากความเย็น (Frost bite) และแผลที่ถูกแมลงกัดต่อย และจากไฟไหม้ที่เนื้อเยื่อผิวหนังถูกทำลายไป เมื่อใช้ว่านหางจระเข้ปิดตรงบริเวณแผลจะช่วยให้รู้สึกเย็น และช่วยกระตุ้นการเกิดใหม่บริเวณแผล ป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน และยังป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นอีกด้วย ว่านหางจระเข้ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียและไวรัส มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค และทำลายพิษที่เชื้อโรคขับออกมาได้ด้วย วุ้นจากว่านหางจระเข้ใช้รับประทานเพื่อช่วยรักษา และสมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้น นอกจากนี้ยังใช้วุ้นของว่านหางจระเข้ เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง อาทิเช่น แชมพู เพราะช่วยบำรุงเส้นผม หรือผสมในครีมกันแดด และครีมบำรุงผิวได้ด้วย
ควรเลือกใบต่ำสุดจากต้นว่านหางจระเข้ นำมาล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก โดยผ่านตามยาว นำเมือกวุ้นได้ที่ได้มาล้างน้ำจนหมดยางสีเหลือง ฝานวุ้นเป็นแผ่นบางๆ ใช้ปิดแผล พันทับด้วยผ้าพันแผลสะอาด เปลี่ยนวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น จนกว่าแผลจะหาย
การรับประทานเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารมี 2 วิธี
-รับประทานวุ้นสด ในผู้ใหญ่ 15 กรัม/วัน เด็กลดลงตามส่วนประมาณ 1/3 ของผู้ใหญ่
-รับประทานน้ำวุ้นหางจระเข้ ในผู้ใหญ่ 2 ช้อนโต๊ะเช้าเย็น เด็กรับประทาน 1/2 ของผู้ใหญ่

ข้อควรระวัง :
1. เมื่อใช้เป็นยาทา ให้ระวังยางของว่านหางจระเข้ เพราะมีฤทธิ์ระคายเคือง บางคนอาจแพ้จะรู้สึกคันมาก ดังนั้นต้องล้างให้หมดยาง ทดสอบได้ด้วยการชิม วุ้นดู ถ้ามีรสขมแสดงว่ายังมียางอยู่ ควรล้างให้หมดรสขม
2. เมื่อใช้เป็นยากิน ต้องระวังยางเช่นกัน เพราะอาจทำให้ท้องเสียและปวดท้องได้
3. กรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน การดื่มน้ำว่านหางจระเข้จะทำให้ตับอ่อนสร้างอินซูลินมากขึ้น ดังนั้นต้องระวังในผู้ที่ใช้อินซูลินรักษาเบาหวานอยู่ อาจมีอันตรายทำให้หมดสติได้

ไม้มงคลต้นขนุน

ไม้มงคล - ต้นขนุน

ขนุน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lamk.
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่อสามัญ Jack Fruit Tree
ชื่อท้องถิ่น
  • ภาคเหนือ-ใต้ เรียก ขะหนุน
  • ภาคอีสาน เรียก หมักหมี้, บักมี่
  • จันทบุรี เรียก ขะนู
  • มลายู-ปัตตานี เรียก นากอ
  • ชาวบน-นครราชสีมา เรียก โนน
  • เขมร เรียก ขนุน, ขะเนอ
ลักษณะ
  • ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ
  • ดอก เป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า "ส่า" มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยง จะออกดอกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม และเมษายน - พฤษภาคม
  • ผล เป็นผลรวมมีขนาดใหญ่
  • ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ติดตา และทาบกิ่ง
สรรพคุณทางยา
  • ใบ รสฝาดมันรักษาหนองเรื้อรัง และใบสดนำมาตำให้ละเอียดอุ่นพอกแผล
  • ราก รสหวานอมขม แก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้ธาตุน้ำกำเริบ โลหิตพิการ ฝาดสมานบำรุงกำลัง และบำรุงโลหิต แก่นและราก รสหวานอมขม บำรุงโลหิต แก้กามโรค ขับพยาธิ ระงับประสาท และแก้โรคลมชัก
  • ยาง รสจืด ฝาดเฝื่อน แก้อักเสบบวม แผลมีหนองเรื้อรัง แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ขับพยาธิ และขับน้ำนม
  • เนื้อหุ้มเมล็ด รสหวานมันหอม บำรุงกำลัง และชูหัวใจให้ชุ่มชื่น
  • เนื้อในเมล็ด รสหวานมัน บำรุงน้ำนม ขับน้ำนม และบำรุงกำลัง
ประโยชน์
  • ผลอ่อน ใช้ปรุงอาหาร ผลสุกเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสหวาน เมล็ดปรุงอาหาร
  • เนื้อไม้ ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง ครก สากกระเดื่อง หวี โทน รำมะนา ระนาด
  • รากและแก่น ให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล ใช้ย้อมผ้าและแพรไหม
  • ราก นำมาปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ไข้
  • ใบ เผาไฟกับซังข้าวโพดให้ดำเป็นถ่าน แล้วใส่รวมกับก้นกะลามะพร้าวขูด โรยรักษาบาดแผล
คติความเชื่อ
&n bsp; ขนุนนับได้ว่าเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของคนไทย กำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (หรดี) ตามโบราณเชื่อกันว่า การปลูกต้นขนุนในบริเวณบ้านจะหนุนเนื่อง บุญบารมี เงินทอง จะมีคนเกื้อหนุน และอุดหนุนจุนเจือ นอกจากนี้ชาวเหนือใช้ใบขนุนร่วมกับใบพุทรา ใบพิกุล นำมาซ้อนกันแล้วนำไปไว้ใน ยุ้งข้าวตอนเอาข้าวขึ้นยุ้งใหม่ๆ เชื่อกันว่าจะทำให้หนุนนำและส่งผลให้มีข้าวกินตลอดปีและตลอดไป

ไข่ตุ๋นปูอัด

ไข่ตุ๋นปูอัด
ใครที่มีเด็กอยู่ในบ้าน อาจจะเคยพบกับปัญหานี้
เด็กเบื่ออาหาร อะไรอะไร ก็ไม่อร่อย
ถ้าใช่ เราขอแนะนำ เมนูอาหารสำหรับเด็ก
ไข่ตุ๋นปูอัด
ทำง่าย แต่อร่อยล้ำ
ก็ ลองเอาไปทำทานกันดูนะ




เครื่องปรุง

1. ไข่ไก่(เบอร์ 1) 3 ฟอง
2. น้ำเปล่า
3. ปูอัด 3-4 แท่ง(หั่นแทยง)
4. แครอทหั่นลูกเต๋าเล็ก 2 ช้อนโต๊ะ
หั่นแท่งเล็กน้อย

5. ต้นหอมซอย เล็กน้อย
6. ซิอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
7. ซอสปรุงรส 2 ช้อนชา
8. น้ำปลา 1/2 ช้อนโต๊ะ

1. ใส่น้ำในลังถึง จากนั้นนำลังถึงตั้งไฟ ระหว่างรอน้ำเดือด ตอกไข่ใส่ชาม ใช้ซ่อมตีไข่ให้ไข่แดงและไข่ขาวเข้ากัน ปรุงรสด้วย ซิอิ๊วขาว ซอสปรุงรส และน้ำปลา จากนั้นค่อยๆ เติมน้ำเปล่าลงไป คนให้เข้ากัน ใส่ปูอัดและแครอท ที่หั่นเตรียมไว้ส่วนหนึ่งลงในชาม แบ่งไว้ส่วนหนึ่ง เอาไว้แต่งหน้า จากภาพจะเห็นแครอทลอยอยู่บนไข่ ส่วนปูอัดจะจมอยู่ด้านล่างค่ะ

2. พอน้ำเดือด นำชามไข่ที่เตรียมไว้ ใส่ในลังถึงปิดฝา ใช้ไฟปานกลาง นึ่งประมาณ 20 นาที เมื่อไข่สุกจะได้ไข่ตุ๋นหน้าตาประมาณในภาพ ถึงขั้นตอนนี้อาจจะยังไม่ต้องให้ไข่สุก ทั้ง 100 % ก็ได้ค่ะ เพราะเดี๋ยวต้องแต่งหน้าแล้วนึ่งต่ออีก เอาเป็นว่าให้เกือบสุกก็แล้วกัน

เวลา ที่ใช้ในการนึ่งจะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับไข่ว่าเป็นไข่ที่ออกจากตู้เย็นหรือเปล่า และไฟที่ใช้บางทีอาจจะไม่เท่ากัน แต่ที่สำคัญ เวลาใส่ชามไข่ในลังถึง ต้องรอให้น้ำเดือดก่อนค่ะ

3. แต่งหน้าไข่ตุ๋นด้วย ปูอัด โรยแครอทแบบแท่ง ต้นหอมหั่นฝอย จากนั้นปิดฝาลังถึง นึ่งต่อประมาณ 2-3 นาที ให้ปูอัดและผักสุก ยกเสิร์พ ทานร้อนๆ อร่อยมากขอบอก

วิธีทดสอบว่าไข่ สุกแล้วหรือยัง ให้ใช้ช้อนหรือซ่อมแทงลงไปที่เนื้อไข่ จิ้มลงไปเบาๆ ก็พอนะคะ ไม่ใช่กวนไข่ ถ้าไข่สุกเนื้อไข่จะเกาะกันดี หากเป็นน้ำสีไข่ดิบไหลขึ้นมา ก็แสดงว่าอาจจะยังสุกไม่ทั่วดี ปิดฝานึ่งต่ออีกหน่อยค่